มาตราฐาน IPv6 และเทคโนโลยีอนาคต



IP Address เป็นหมายเลขที่ใช้ระบุเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายทำให้ทราบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้นอยู่ในตำแหน่งไหน หมายเลข IP ที่เรานิยมใช้กันมากที่สุดคือ IPv4 แต่ว่าในปัจจุบันจำนวนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เริ่มมีจำนวนเยอะขึ้น เกินกว่าจำนวนที่ IPv4 จะรองรับไหว นั้นจึงมาการพัฒนา IPv6 ขึ้นเพื่อที่จะเพียงพบต่อจำนวนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เพิ่มขึ้นมาในปัจจุบันและอนาคต

IPv6 เกิดขึ้นมาได้อย่างไร?

ในปัจจุบันจำนวนของอุปกรณ์และเครือข่ายมีการเพิ่มจำนวนที่มากขึ้น หมายเลข IP Address ที่เราใช้กันอยู่หรือ IPv4 ก็ค่อยๆ ถูกใช้ไปจนจำนวนหมายเลขลดลงเรื่อยๆ และคาดว่าในอนาคตอินเทอร์เน็ตจะมีบทบาทสำคัญมากๆ ในครัวเรือนและอาจมีการเพิ่มหรือขยายเครือข่ายให้มากขึ้น ดั้งนั้น IPv4 อาจไม่เพียงพอต่อการใช้งานในอนาคต จึงเป็นสาเหตุที่ต้องพัฒนามาตราฐาน IPv6 ขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องของหมายเลข IPv4 ที่กำลังค่อยๆ หมดไป

IPv6 ต่างจาก IPv4 อย่างไร?
IPv4 ประกอบด้วยเลขฐานสองจำนวน 32 บิต แบ่งตัวเลขเหล่านั้นออกเป็น 4 ช่วง โดยแต่ละช่วงแบ่งออกเป็น 8 บิต และคั้นกลางแต่ละช่วงด้วยเครื่องหมาย “.” เพื่อการสื่อสารที่เข้าใจง่ายจึงมีการนำเลขบิตของแต่ละช่วงมาแปลงเป็นเลขฐานสิบ จึงได้หน้าตาเป็นหมายเลข IP address ที่เราเห็นกันในปัจจุบันเช่น 192.168.10.1 เป็นต้น

IPv6 ประกอบด้วยเลขฐานสองจำนวน 128 บิต และเพื่อให้การสื่อสารเข้าใจง่ายขึ้น จึงมีการแปลงเป็นเลขฐาน 16 (เลข 0-9 และ a-f) ดังนั้นเลข IP ก็จะเป็นเลขฐาน 16 จำนวน 32 หลัก และใช้ ":" คั่นในแต่ละ 4 หลักของเลขฐาน 16 เราจึงจะเห็นหน้าตาของ IPv6 เป็นในลักษณะตัวอย่างดังต่อไปนี้ 3ffe:ffff:0100:f101:0210:a4ff:fee3:9566 และนอกจากการเพิ่มจำนวนบิตเพื่อรองรับหมายเลข IP ให้มากขึ้นแล้วยังพัฒนาขีดความสามารถและแก้ปัญหาที่ IPv4 ทำไม่ได้

- เพิ่มขีดความสามารถในการเลือกเส้นทางและสนับสนุน Mobile Host
- สนับสนุนการทำงานแบบเวลาจริง (real-time service)
- มีระบบติดตั้ง Address อัตโนมัติ (Auto configuration)
- ปรับปรุง Header เพื่อให้มีการประมวลผลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- เพิ่มระบบรักษาความปลอดภัยให้มีมากขึ้นและดีกว่าเดิม



การนำ IPv6 มาพัฒนาเทคโนโลยี
IPv6 มีการยอมรับและนิยมนำมาพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ทั่วโลก เนื่องจากอุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆ ในอนาคตจะมีการพัฒนาขึ้นมาให้ใช้ IP Address เพื่อติดต่อสื่อสารเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้แล้ว เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายและทันสมัยให้กับการใช้ชีวิตของเราเพิ่มขึ้น เช่น การผลิตตู้เย็นที่รองรับ มาตรฐาน Ipv6 จะช่วยให้ตู้เย็นสามารถสแกนได้ว่า อาหารใดกำลังจะหมดอายุ และเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไปยังร้านค้า เพื่อสั่งซื้อสินค้าได้โดยตรง ,การติดตั้งระบบกล้องวงจรปิดตามบ้างเรือนที่รองรับ มาตรฐาน Ipv6 จะช่วยตรวจจับสิ่งไม่พึงประสงค์และเชื่อต่ออินเตอร์เน็ตเพื่อแจ้งเหตุการณ์ในทันที เป็นต้น

ดังนั้นหลายๆ ประเทศได้แสดงเจตนารมน์ที่จะทำการอัพเกรดเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตให้เป็น IPv6 เช่น กระทรวงกลาโหมสหรัฐ ได้ประกาศว่า จะเลิกสั่งซื้ออุปกรณ์ เครือข่ายที่สนับสนุนมาตรฐานปัจจุบันและเปลี่ยนไปใช้ มาตรฐาน IPv6 ในปี 2008 ในเอเชียเอง จีน ไต้หวัน และเกาหลีใต้ก็ส่งสัญญาณว่าจะอัพเกรดเทคโนโลยีให้รองรับ IPv6 ได้เช่นเดียวกัน แต่ญี่ปุ่นคือผู้นำในด้านนี้ รัฐบาลมีโครงการ e-Japan ที่จะสร้างเครือข่ายให้ครอบคลุมทั่วประเทศเพื่อให้อุปกรณ์สามารถสื่อสารกันได้ และยังมีการทดสอบโครงการทดลองใช้IPv6 โดยมีการติดตั้งเครื่องมือตรวสอบสภาพอากาศและระบุตำแหน่งไว้บนรถแท็กซี่ทุกคัน เมื่อแท็กซี่วิ่งไปยังตำแหน่งใดจะทำให้ตรวจสอบได้ว่า บริเวณนั้นมีสภาพอากาศเป็นอย่างไร มีฝุ่นละอองมากหรือไม่ ทำให้ทางการสามารถควบคุมสภาพของเมืองได้ง่ายขึ้น

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบ Access Control System ประกอบด้วยอะไรบ้าง

Rtsp ในกล้องวงจรปิดไอพี คืออะไร

อุปกรณ์MATVระบบ ทีวีอาคาร มีอะไรบ้าง