บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2018

เหมาะเจาะ! Cities: Skylines ออกเวอร์ชั่นเพื่อการศึกษาด้านการปกครองพลเมืองและแก้ไขปัญหาผังเมือง!

รูปภาพ
     TeacherGaming หน่วยงานสร้างเกมส์เพื่อประโยชน์ด้านการศึกษา ได้จับมือร่วมกับ Paradox Interactive ผู้พัฒนา Cities: Skylines  เกมส์แนวบริหารจัดการเมืองสุดระเอียดยิบแห่งยุค (ที่ผู้เล่นจะได้สนุกสนานไปกับการจัดการรายละเอียดปลีกย่อยทั้งหลายของนครใหญ่และ พัฒนาให้เจริญเติบโตไปเรื่อยๆ ตามแต่ผู้เล่นจะต้องการ) เพื่อช่วยกันสร้างเกมส์ดังกล่าวเป็นเวอร์ชั่นพิเศษในชื่อ Cities: Skylines - Education Edition ให้คณะครูอาจารย์ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนด้านการปกครองปะชาชนไปจนถึงการรับมือและแก้ปัญหาที่ถูกต้องให้กับมหานครขนาดใหญ่  คงจะไม่มีเกมส์ไหนเหมาะสมไปกว่า Cities: Skylines แล้วละครับ เพราะแค่ในโหมดการเล่นปกติของเกมส์นี้ ผู้เล่นก็จะได้ดูแลตั้งแต่ด้านสิ่งปลูกสร้าง (กำหนดพื้นที่ต่างๆ ให้เป็นเขตชุมชน อุตสาหกรรม หรือแหล่งค้าขาย) ด้านปัจจัยหลัก (เดินเส้นทางท่อระบายน้ำ ทางท่อระบายเสีย ฯลฯ) ไปจนถึงการกำหนดนโยบายเฉพาะเขตเลยทีเดียว ซึ่งทางเวอร์ชั่นเพื่อการศึกษานี้ ทั้งสองทีมพัฒนาได้ทำการเพิ่ม 8 ด่านภารกิจขึ้น (อาจคุ้นกันในชื่อ Scenario) ที่จะให้ความรู้ด้านการบริหารจัดการเมืองแตกต่างกันออกไปตามแต่ละด่าน

ประเภทกล้องวงจรปิด ไอพี

รูปภาพ
กล้องวงจรปิด ไอพี (IP Camera) มีหลายประเภท เช่น - กล้องวงจรปิด (IP Camera) ประเภทกล่องมาตรฐาน (Standard Box) - กล้องวงจรปิด (IP Camera) ประเภททรงโดม (Dome) - กล้องวงจรปิด (IP Camera) ประเภททรงโดนทนการกระแทรก (Vandal-Resistant Dome) - กล้องวงจรปิด (IP Camera) ประเภทอินฟราเรด (IR Dome) - กล้องวงจรปิด (IP Camera) ประเภททรงโดมอินฟราเรดทนการกระแทรก (Vandal-Resistant IR Dome) - กล้องวงจรปิด (IP Camera) ประเภทอินฟราเรดกันน้ำ (Weatherpoof IR) - กล้องวงจรปิด (IP Camera) ประเภทหมุน-ก้ม-เงย-ขยายดูภาพได้ (PTZ- PAN/Tile/Zoom) - กล้องวงจรปิด (IP Camera) ประเภทหมุน-ก้ม-เงย-ขยายดูภาพได้ (Speed Dome) จำหน่าย กล้องวงจรปิดราคาส่ง และทั้งหมดนี้คือประเภทของ กล้องวงจรปิด ราคาส่ง ที่มีขายอยู่ตามท้องตลาดทั่วไปหรือถ้าไม่สะดวกไปเดินหาซื้อก็สามารถดูรายละเอียดและสั่งซื้อออนไลน์ได้ที่ klongthomtech.com ครับ ที่นี่มี กล้องวงจรปิดราคาส่ง ทุกรูปแบบที่คุณต้องการแน่นอน

มาตรฐาน IP ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

รูปภาพ
    มาตรฐาน IP (อังกฤษ : IP Rating, IP Code, IP Standard) ชื่อเต็ม International Protection Standard ตามมาตรฐาน IEC 60529   หรือบางครั้งถูกตีความเป็น Ingress Protection Rating คือมาตรฐานที่บอกถึงระดับการป้องฝุ่นและน้ำของเครื่องจักร (mechanical casings)  และอุปกรณ์ไฟฟ้า (electrical enclosures) ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นโดย IEC (International Electrotechnical Commission) เทียบเท่ากับมาตรฐานยุโรป EN 60529 การบอกถึงระดับการป้องกันนั้นหลักๆแล้วจะถูกแสดงโดยตัวเลข 2 หลักคือ IPxx โดยหลักแรกจะหมายถึงระดับการป้องกันของฝุ่นหรือการสัมผัส โดยบังเอิญซึ่งจะมีระดับตั้งแต่ 0-6 ส่วนหลักที่สองจะหมายถึงระดับการป้องกัน รายละเอียดรหัส IP ตารางนี้จะแสดงให้เห็นถึงลำดับและสิ่งจำเป็นที่ต้องถูกระบุจึงจะเรียกได้ว่าเป็นมาตรฐาน IP ที่สมบูรณ์ ตัวเลขหลักที่ 1 : การป้องกันของแข็ง ตารางนี้จะแสดงให้เห็นถึงระดับการป้องกันของแข็งซึ่งของแข็งที่กล่าวนี้หมายถึงการป้องกันการเข้าถึง(เข้าไปในตัวอุปกรณ์)ของฝุ่นหรือการสัมผัส  โดยบังเอิญเท่านั้น ไม่รวมถึงการกระแทกจากของแข็งซึ่งการทนต่อแรงกระแทกนั้นจะบอกในตัวเลขหลักที่ 3 ของ

ชิป CMOS คืออะไร

รูปภาพ
    CMOS (ซีมอส) ย่อมาจาก “Complementary Metal Oxide Semiconductor” เป็นชิปไอซีที่ใช้เก็บข้อมูลที่เป็นค่าเฉพาะของแต่ละระบบ  เพื่อให้ Bios (ไบออส) นำไปใช้ในการบู๊ตระบบ ข้อมูลที่ถูกเก็บอยู่ใน CMOS เช่น เวลา และวันที่ของระบบ ค่าของฮาร์ดดิสก์  และไดรว์ซีดี/ดีวีดี, การปรับค่าความเร็วในการอ่านเขียนของแรม เป็นต้น เป็นชิปสารกึ่งตัวนำที่ถูกติดตั้งแบบออนบอร์ดมากับเมนบอร์ดเลย เราจะมองไม่เห็นตัวชิปเพราะมันถูกผนวกเข้ากับชิปเซ็ต ชิป CMOS เป็นหน่วยความจำที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้กินไฟน้อย และทำงานได้เร็ว เนื่องจาก CMOS ใช้เทคโนโลยีเดียวกับแรมทำให้ต้องการไฟเลี้ยงจากแบตเตอรรี่ (CMOS battery) เพื่อให้ข้อมูลคงอยู่ หากแบตเตอรี่หมดข้อมูลก็จะหายไป ก็จำเป็นต้องเซ็ตค่าต่าง ๆ กันใหม่ใน CMOS Setup บางครั้งที่เครื่องเสีย เช่น มีการโอเวอร์คล็อกคือ ปรับสปีดความถี่แล้วเครื่องรับไม่ได้ เมื่อเปิดเครื่องก็จะไม่ยอมบู๊ต เราก็จะใช้การ clear CMOS โดยการถอดแบตเตอรี่ เพื่อเครียร์ค่าการเซ็ตอัพ แบตเตอรี่ หรือ บ้านเราเรียกกันว่า “ถ่านซีมอส (CMOS batteries) หรือแบตเตอรี่แบคอัพ” ทำหน้าที่จ่ายไฟเลี้ยงให้กับซีม

อินเตอร์เน็ต คืออะไร

รูปภาพ
ที่มาของ Internet คืออะไร อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) จากการเกิดเครือข่าย ARPANET (Advanced Research Projects Agency NETwork) ซึ่งเป็นเครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยชั้นสูงของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการสร้างเครือข่ายคือ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อ และมีปฏิสัมพันธ์กันได้ เครือข่าย ARPANET ถือเป็นเครือข่ายเริ่มแรก ซึ่งต่อมาได้พัฒนาให้เป็นเครือข่าย อินเทอร์เน็ต ในปัจจุบัน ความหมายของ Internet อินเทอร์เน็ต (อังกฤษ: Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลาย ๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลาย ๆ ทาง อาทิ อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้ การประยุกต์ใช้งาน อินเทอร์เน็ต การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตในปัจจุบันทำได้หลากหลาย อาทิ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล (email), สนทนา (chat), อ่านหรือแสดงความคิดเห็นในเว็บบอร์ด,

Dual Stream ในกล้องจรปิด คืออะไร

รูปภาพ
    ถ้าพูดถึงการทำงานของกล้องไอพี รุ่นก่อนๆ ที่สามารถปรับขนาดของภาพได้เพียงรูปแบบเดียวนั้น  จะส่งผลกระทบต่อการเรียกดูผ่านทางเครือข่าย หรือทางโทรศัพท์ เพราะถ้าต้องการความละเอียดของภาพ ในการบันทึกที่สูงนั้น ก็ต้องปรับขนาดของภาพให้เพิ่มขึ้น และความละเอียดที่สูง แต่ถ้าคิดกับกัน  ในการเรียกเข้ามาดูผ่านทางระบบเครือข่าย หรือทางโทรศัพท์ ข้อมูลที่มีขนาดใหญ่และความละเอียดสูง  ก็ต้องกินแบนวิดท์ในการส่งข้อมูลมาก เป็นเรื่องธรรมดา ทำให้ภาพที่ได้กระตุก หรือค้าง ไม่ไหลลื่น  ณ.ปัจจุบัน กล้องไอพีเอง ได้มีการพัฒนาระบบที่เรียกว่า Dual Stream เป็นรูปแบบของการส่งข้อมูลภาพได้ 2 ทาง  คือ Stream 1 และ Stream 2 ยกตัวอย่าง ที่ Stream 1 จะใช้ในการบันทึกภาพ จะปรับขนาด และความละเอียดของภาพ  ให้ดีที่สุด ส่วน Stream 2 จะเป็นการเรียกดูภาพทางเครือข่าย หรือทางโทรศัพท์ ในที่นี้จะตั้งค่าให้ขนาดของภาพเล็กลง  และความละเอียดของภาพไม่มากนัก เพื่อประหยัดแบนวิทด์ในการส่งข้อมูล ทำให้ภาพที่ได้ ไม่กระตุก เป็นต้น By Klongthomtech.com

ความหมายของ Minimum Illumination ในกล้องวงจรปิด คืออะไร

รูปภาพ
Minimum Illumination ที่ระบุในเอกสารทางเทคนิค ของกล้องรุ่นนั้นๆ เป็นเครื่องมือ อ้างอิง เช่น บอกว่า Minimum Illumination = 0.1 Lux LUX คือหน่วยที่ใช้วัดปริมาณแสง ( เช่น 0.005 / 1 / 2 / 4 / 5 Lux ) โดยใน spec ของกล้อง จะระบุปริมาณแสงที่เหมาะสมกับการใช้งานเพื่อที่จะได้ภาพที่ชัดเจน เช่น หากระบุว่า 0.1 LUX นั้นหมายความว่า ที่ระดับความสว่าง 0.1 LUX ซึ่ง ถือได้ว่ามืดพอสมควรนั้นกล้องยังพอมองเห็นภาพได้ การเปรียบเทียบความสามารถในการจับภาพในพื้นที่ที่มีแสงสว่างน้อยของกล้องหรือในที่มืดนั้นมักมีสิ่งที่ระบุว่าทำการวัดที่การเปิดช่องรับแสงเท่าไร ซึ่งการเปรียบเทียบเรื่อง Minimum Illumination นั้นจะต้องคำนึงเรื่องต่อไปนี้คือ รูปแบบสัญญาณภาพ การเปิดช่องรับแสง การเปรียบเทียบความสามารถในการจับภาพในพื้นที่ที่มีแสงสว่างน้อยของกล้อง ภาพขาว – ดำ จะมีค่า Minimum Illumination น้อยกว่า ภาพสี เพราะไม่ต้องมีการใช้ความสว่างในส่วนของรายละเอียดสี ดังนั้น หากจะเปรียบเทียบคุณสมบัติข้อนี้ ขอให้แน่ใจว่าได้เทียบ สี – สี , ขาว – ดำ – ขาว – ดำ เนื่องจากมีผลิตภัณฑ์ในท้องตาดมากมาย บ้างบอกที่ F1.2 , บ้างก็บอ

กล้องวงจรปิดแบบ Day/Night คืออะไร

รูปภาพ
กล้องวงจรปิดแบบ Day/Night แบ่งออกเป็นอีกสองแบบคือ แบบ T-D/N (True Day/Night) และ แบบ E-D/N (Simple Day/Night )ภายในตัว กล้อง Day/Night จะมีแผ่นฟิล์มใสๆติดอยู่ที่ด้านหน้า Chip CCD โดยเรียกว่า IR cut filter จะทำหน้าที่ในการกรองแสงให้กับ CCD ทำให้ได้ภาพที่คมชัดและสีสันที่สมจริง แม้ในสภาวะพื้นที่ที่มีแสงมากๆแต่ความแตกต่างของ กล้อง Day/Night ทั้งสองแบบอยู่ที่  E-D/N (Simple Day/Night) ตัว IR cut filter ที่ติดอยู่ด้านหน้า Chip CCD นั้นจะไม่สามารถเคลื่อนที่หรือเปิดออกได้ คือจะทำหน้าที่กรองแสงให้กับ Chip CCD ตลอดเวลา ข้อเสียคือในเวลากลางคืน IR cut filter ก็จะไม่ยอมให้แสงจากภายนอกผ่านเข้ามาที่ CCD ได้ ทำให้ภาพที่ได้ค่อนข้างมืด แถบจะมองไม่เห็น ส่งผลให้กล้องตัวนั้นทำงานในพื้นที่ที่มีปริมาณแสงที่ lux ต่ำๆได้ไม่ดีเท่าที่ควร ส่วน T-D/N (True Day/Night) นั่น IR cut filter จะสามารถเคลื่อนที่ได้เพื่อทำหน้าที่ในการเปิดและปิดการกรองแสงให้กับ CCD  ข้อดีในเวลากลางวันคือถ้าหากสภาวะของแสงนั้นค่อนข้างมาก IR cut filter ก็จะทำหน้าที่กรองแสงให้ลดน้อยลงเพื่อให้ได้ภาพที่ไม่สว่างจ้า มีสีสันสมจริง และในโหมด

RS485ในเครื่องบันทึก คืออะไร

รูปภาพ
   RS485 (ย่อมาจาก: Recommended Standard no. 485) คือมาตรฐานการสื่อสารข้อมูลดิจิตอลแบบอนุกรม (serial communication) ซึ่งถูกกำหนดขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1998 โดยความร่วมมือของ TIA (Telecommunications Industry Association) และ EIA (Electronic Industries Association)  มาตรฐาน RS485 ถูกใช้อย่างแพร่หลายในโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากสามารถส่งสัญญาณได้ไกลและยังสามารถส่งพร้อมๆกันได้หลายจุด หลักการทำงานของ RS485 แบบ NETWORK  มาตรฐาน RS485 สามารถเชื่อมต่อการรับส่งข้อมูลแบบเครือข่าย (Network) โดยมีอุปกรณ์ในเครือข่ายได้สูงสุดถึง 32 ตัว ซึ่งในเครือข่ายนั้น จะต้องมีอุปกรณ์อยู่ 1 ตัว ทำหน้าที่คอยจัดคิวการสื่อสารในเครือข่าย ซึ่งเราจะเรียกอุปกรณ์ตัวนี้ว่า "Master" และอุปกรณ์ส่วนที่เหลือเราจะเรียกว่า "Slave" โดยที่ Slave แต่ละตัวจะมีหมายเลข Address ของตัวเอง และเมื่อตัว Master ต้องการสั้งการตัว Slave ตัว Master จะส่งชุดคำสั่งพร้อมระบุหมายเลข Address ไปยังอุปกรณ์ Slave ทุกตัวเมื่ออุปกรณ์ Slave ได้รับคำสั่งและคำสั่งนั้นมีหมายเลข Address ตรงกับตัวเอง อุปกรณ์ Slave ถึงจะทำตามคำสั่งขอ

ความละเอียด หรือ Resolution คืออะไร

รูปภาพ
ค่า Resolution สามารถกำหนดค่าได้รูปแบบ เช่น 1. แสดงผลเป็นจำนวนจุด หรือ Pixel ในแนวนอนและแนวตั้ง เช่น จอแสดงผล Resolution 1920 x 1080 ซึ่งหมายถึง มีจำนวนจุดสำหรับแสดงผลในแนวนอน 1,920 จุด และมีจุดแสดงผลในแนวตั้งจำนวน 1,080 จุด ซึ่งการแสดงผลด้วยความละเอียดขนาดนี้ เรานิยมเรียกว่าการแสดงผลแบบ Full HD นั่นเอง นอกจากนี้ยังมีการแสดงค่าอื่นในลักษณะนี้อีกมากมาย เช่น 1280 x 720, 1366 x 768 และ 800 x 600 เป็นต้น การแสดงค่า Resolution แบบนี้ ยิ่งค่าในแต่ละแนวมีค่าสูง ก็จะสามารถแสดงผลได้ละเอียดและคมชัดมากขึ้น 2. การแสดงค่า Resolution แบบการนับความหนาแน่นของจุด หรือ จำนวน Pixel ต่อตารางนิ้ว เช่น 326 จุดต่อนิ้ว (Pixel per inch, PPI) หรือ 470 PPI เป็นต้น ยิ่งค่า PPI สูง ก็จะยิ่งแสดงภาพได้ละเอียดและคมชัดมากกว่าตัวเลขน้อยๆ 3. การแสดงค่า Resolution เป็นจำนวนจุดทั้งหมดที่มีอยู่ในจอแสดงผล เช่น ถ้าจอแสดงผลนั้นสามารถแสดงผลได้ที่ความละเอียด 1366 x 768 ก็จะบอกว่าหน้าจอนี้สามารถแสดงภาพได้จำนวน 1,049,088 pixel หรือ 1.05 Mega Pixel ส่วนจอแสดงผลแบบ 4K (4096 x 2160) จะมีจำนวนจุดแสดงผลทั้งสิ้น 8,847,360 pi

ความแตกต่างระหว่างเทคโนโลยี D-WDR WDR

รูปภาพ
  WDR ย่อมาจาก Wide Dynamic Range เป็นเทคโนโลยีการถ่ายภาพย้อนแสง โดยการที่กล้องถ่ายภาพซ้อนกัน 2 ใบในเวลาเดียวกัน ซึ่งใบนึงจะเป็นการถ่ายภาพในสภาวะปกติ และอีกใบนึงจะถ่ายภาพในสภาวะที่มีความสว่างมากกว่าปกติ แล้วนำภาพที่ได้ทั้ง 2 ภาพมาซ้อนกัน ทำให้ภาพทีั้งภาพมีรายละเอียดที่ชัดเจน (โดยหลักการคือ ภาพส่วนที่มืดจะทำการดึงส่วนที่สว่างของอีกภาพมาแสดง ส่วนที่สว่างเกินไปก็จะดึงรายละเอียดกลับมาทำให้สามารถมองเห็นรายละเอียดภาพได้อย่างละเอียด) ส่วนใหญ่กล้อง DWR มักนิยมใช้กันมากในสภาพย้อนแสง คือ แสงจากฉากหลังสว่างกว่าวัตถุ ทำให้ภาพมีความมืดกว่าปกติ จึงต้องแก้ไขด้วยการติดกล้อง WDR เพื่อให้ภาพที่ได้มีรายละเอียด ดังภาพด้านล่างที่แสดงให้เห็นถึงภาพที่ทำการเปิด WDR และไม่ได้เปิด WDR ได้อย่างชัดเจน   D-WDR ย่อมาจาก Digital Wide Dynamic Range เป็นเทคโนโลยีกล้องย้อนแสงใหม่ล่าสุด ซึ่งมีหลักการทำงานหล้ายกับ WDR ซึ่งโดยปกติแล้วกล้องวงจรปิดที่ใช้เทคโนโลยี D-WDR มักจะติดตั้งในบริเวณที่มีสภาพย้อนแสง เพื่อให้ภาพที่ได้นั้นไม่มืดจนเกินไป และสามารถเห็นรายละเอียดที่ชัดเจนได้ By Klongthomtech.com

กล้องวงจรปิดแบบ Speed Dome(PTZ) คืออะไร

รูปภาพ
  กล้องวงจรปิดแบบ Speed Dome (PTZ) กล้องวงจรปิด Speed Dome หรือมีตัวย่อว่า P =PAN  (หมุน ส่าย) T=TILT   (ก้ม เงย) Z=ZOOM  (ซูม) เป็นกล้องวงจรปิดที่มีชนิดแบบ ภายในและภายนอก สามารถปรับองศาของกล้องได้ Zoom ภาพ ได้ หมุนได้ 360 องศา เหมาะสำหรับพื้นที่ที่กว้างมาก ความสำคัญของพื้นที่นั้นมีความสำคัญพอๆกัน โดยติดกล้องหนึ่งตัวสามารถดูภาพได้ทั่วห้อง เหมาะสำหรับโกดัง หรือ โรงงานที่มีพื้นที่กว้างๆ ต้องการดูภาพรวม และ ในขณะเดียวกันภาพที่เจาะจงวัตถุนั้นได้ราคาจะแพงกว่า กล้องโดม หลายเท่าตัว อายุการใช้งานขึ้นอยู่กับมาตรฐานของสินค้าใน อุปกรณ์ ควมคุมกล้อง PTZ แต่ที่ และที่สำคัญการดูภาพอย่างที่เราต้องการต้องมีเจ้าหน้าที่คอยควบคุมการทำงานของตัวอุปกรณ์อยู่ตลอดเวลา เพราะหลักการทำงานของตัวกล้องจะทำการหมุน ไปตลอดเวลา การหยุด หรือ Zoom ต้องมีเจ้าหน้าที่ควบคุม By Klongthomtech.com

กล้องวงจรปิด AHD คืออะไร

รูปภาพ
AHD เป็นกล้องที่ส่งสัญญาณในรูปแบบระบบอนาล็อคเช่นกัน แต่แตกต่างจากระบบอนาล็อคตรงที่ไม่ได้ส่งมาในรูปแบบมาตรฐาน  ดังนั้นกล้องระบบนี้จึงไม่สามารถต่อเข้ากับจอ ในช่อง สัญญาณ AV ได้ โดยระบบนี้ ถูกพัฒนาขึ้นมาเพราะ รูปแบบการส่งสัญญาณแบบเดิม  มีปัญหาเรื่องค่ามาตรฐานในการส่งสัญญาณตามหน่วยงานมาตฐานโลก ซึ่งมันจะทำให้ไม่สามารถส่งสัญญาณความละเอียดสูงๆ ได้  ดังนั้นถ้าจะได้ภาพที่ความละเอียดสูง จึงต้องเปลี่ยนรูปแบบการส่งสัญญาณ แต่ยังคงเป็นการส่งแบบอนาล็อคเช่นเดิม ยกตัวอย่างเปรียบเทียบ  เช่น ทางหน่วยงานกำหนดมาตฐานไว้ว่าให้ทำการส่งภาพได้สูงสุด25ภาพต่อวินาที แต่จริงๆแล้ว เราสามารถส่งภาพได้ถึง60ภาพต่อวินาที   ถ้าเราจะส่งภาพสูงเกินกว่าที่มาตรฐานกำหนด เราก็ต้องออกไปต้้งมาตรฐานใหม่เอง เป็นต้น ดังนั้น AHD จึงมีข้อเด่น และข้อด้อยเหมือนกับระบบอนาล็อค จุดเด่นของระบบ AHD - ราคาถูก เนื่องจากตัวกล้องมีหน้าที่แค่ส่งภาพไปเท่านั้นไม่มีระบบประมวลผลอะไร - ส่งสัญญาณได้ไกล ไม่เกิน 500m (มีสัญญาณรบกวน) - เหมาะกับงานติดตั้งตามบ้านและออฟฟิตขนาดเล็ก เดินสายไม่เกิน 400m By Klongthomtech.com

กรณีติดตั้งจานทรูอยู่แล้ว ต้องการเพิ่มจุดรับชม True TV

รูปภาพ
จำหน่าย อุปกรณ์ระบบMATV                                                                                                                                      และทั้งหมดนี้คือประเภทของ อุปกรณ์ระบบMATV  ราคาส่ง  ที่มีขายอยู่ตามท้องตลาดทั่วไปหรือถ้าไม่สะดวกไปเดินหาซื้อก็สามารถดูรายละเอียดและสั่งซื้อออนไลน์ได้ที่ klongthomtech.com ครับ ที่นี่มี อุปกรณ์ระบบMATV   ราคาส่งทุกรูปแบบที่คุณต้องการแน่นอน

กล้องวงจรปิด StarLight คืออะไร

รูปภาพ
Star light CCTV การทำงานคล้ายๆ กับกล้อง Day & Night แต่พิเศษกว่าตรงที่สามารถให้ภาพสีในเวลากลางคืน แม้จะมีแสงเพียงเล็กน้อยก็ตาม ข้อดีคือ ให้ภาพสีในเวลากลางคืน แสงจากดวงจันทร์เพียงพอต่อการทำงาน ความร้อนน้อยไม่จำกัดเรื่องของระยะทางที่ตัวกล้องจะจับภาพได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับเลนส์ที่ใช้ ข้อเสียคือ ใช้ในที่มืดสนิทไม่ได้ การเลือกใช้งาน : ควรคำนึงตามความเหมาะสมของสถานที่/บริเวณ/สิ่งที่ต้องการจับภาพ ถ้าบริเวณที่จะติดตั้งมืดสนิทไม่มีแสงใดๆ เลย และระยะไม่ไกลมากแนะนำให้ใช้กล้องอินฟราเรด ส่วนบริเวณที่ที่มีแสงสว่างบ้างต้องการคุณภาพของภาพสูงควรเลือกใช้กล้อง Day & Night หรือ Star Light By Klongthomtech.com

H.265 คืออะไร

รูปภาพ
  H.265  เป็นการบีบอัดวีดีโอรูปแบบใหม่ ที่ต่อเนื่องมาจาก H.264 ถูกพัฒนาขึ้นโดย ITU-T Video Coding Experts Group (VCEG) 22 ตุลาคม 2012 Ericsson ประกาศตัวว่าเป็นคนแรกของโลกที่เปิดตัวการเข้ารหัสแบบ H.265 ภายใต้ชื่อ High Efficiency Video Coding (HEVC) โดยหน่วยงาน ITU-T เป็นคนรับรองมาตรฐาน H.265  กล่าวว่า สามารถบีบอัดข้อมูลได้เป็นสองเท่าของ H.264 ด้วยระดับคุณภาพของภาพเท่ากัน สามารถรองรับคุณภาพของภาพหลากหลายที่ Bit Rate เท่าๆกัน และสามารถรองรับ 8K UHD ความละเอียด 8192 x 4320 H.265  ออกแบบมาเพื่อเพิ่มความสามารถในการบีบอัดมากกว่า H.264 โดย Bitrate ลงไปครึ่งหนึ่ง ขึ้นอยู่กับการทำงานของ applicationด้วย H.265 จะลดความซับซ้อนการคำนวณการเข้ารหัสลง ทำให้บีบอัดได้ดีขึ้น ขณะที่ H.264 ส่งข้อมูลระดับ SD ที่ 1Mbps แต่ H.265 สามารถส่งข้อมูลได้ถึง 720P หรือ (1280 x 720) และ HD ที่ 1-2Mbpsบริษัทใหญ่ฝั่ง IT เช่น Qualcomm Broadcom และ Huawei ได้ออก Products ที่เป็น H.265 ซึ่งหวังว่าจะมาแทนที่ H.264 และจะเป็นมาตรฐานระดับสากลต่อไป H.265 ทำไมถึงเหนือกว่า H.264? การเข้ารหัสของ H.265/HEVC จะมีลักษณะคล้ายๆ ก