บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2020

มารู้จักกับแบบจำลองเครือข่าย (OSI Model)

รูปภาพ
OSI Model (Open Systems Interconnection Model)  คือ รูปแบบความคิดที่พรรณาถึงคุณสมบัติพิเศษและมาตรฐานการทำงานภายในของระบบการสื่อสาร โดยการแบ่งการทำงานของ ระบบอินเทอร์เน็ต เป็นชั้นต่างๆ เพื่อให้การทำงานของระบบการสื่อสารนั้นเป็นไปอย่างประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  OSI Model  นั้นถูกออกแบบมาโดยองค์กร ISO (International Organization for Standardization) เพื่อเป็นมาตรฐานในการพัฒนา เครือข่ายการสื่อสารข้อมูลและคอมพิวเตอร์  เนื่องจากได้มีการแบ่งส่วนการทำงานต่างๆ ทำให้เข้าไปจัดการในส่วนของ Layers ชั้นต่างๆ ได้ถูกต้อง ซึ่ง Layers นั้นได้แบ่งทั้งหมด 7 Layers ซึ่งแต่ละ Layers ก็มีหน้าที่การทำงานที่แตกต่างกันไป ดังนี้ Application Layer  (แอพพลิเคชัน เลเยอร์) เป็น Layer ชั้นที่ 7 ซึ่งเป็นชั้นที่อยู่ใกล้ผู้ใช้งานมากที่สุด โดยเป็นแอพพลิเคชันของ  OSI  มีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับผู้ใช้ซอฟต์แวร์แอพพลิเคชัน คอยรับส่งข้อมูลโดยตรงกับผู้ใช้และกำหนดกติกาอัลกอลิทึมว่าเป็นอย่างไร ให้ทำงานเรื่องอะไร Presentation Layer  (พรีเซนเท'เชิน) เป็น Layer ชั้นที่ 6 เป็นชั้นที่รับผิดชอบเรื่องรูปแบบของการแสดงผลเพื่อให้โปรแกรมทราบ

ปกป้องคอมพิวเตอร์ของคุณด้วย Firewall

รูปภาพ
เชื่อว่าหลายๆ คนที่ใช้คอมพิวเตอร์อาจเคยได้ยินคำว่า ? Firewall ? กันมาบ้างแล้ว แต่ว่าเรามักไม่ได้ให้ความสำคัญกับมันมากนัก แต่รู้กันหรือไม่ว่า?  Firewall  สามารถป้องอันตรายจากโลกไซเบอร์โดยเฉพาะเหล่า Hacker ที่มีการเพิ่มจำนวนมากขึ้นในทุกๆ วัน ดังนั้นในบทความนี้เราจะพาทุกๆ ท่านไปทำความรู้จักกับ  Firewall  ให้มากขึ้น เพื่อเรียนรู้การป้องกันภัยจากโลกไซเบอร์ที่ใกล้ตัวเรากัน Firewall คืออะไร? ภายนอกแล้ว  Firewall  คือฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ที่ถูกใช้เพื่อป้องกันการเข้าถึงที่ไม่ได้รับอนุญาตที่เข้ามายังเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของคุณ พวกมันสามารถถูกนำมาใช้ทั้งสำหรับรายบุคคลและธุรกิจขนาดใหญ่เพื่อคัดกรองข้อมูลเข้าและออกคอมพิวเตอร์ของคุณผ่านทางอินเตอร์เน็ต หากตัวกรอก  Firewall  ตรวจพบอะไรก็ตามที่น่าสงสัย มันจะปฏิเสธสิ่งนั้นไม่ให้เข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของคุณและเครือข่ายส่วนตัว Firewall  ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับหยุดปริมาณการเข้าชมที่อันตรายหรือฉ้อโกงไม่ให้เข้าถึงเครือข่ายของคุณได้ พวกมันจะปิดกั้นโปรแกรมเฉพาะจากการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตหากกิจกรรมนั้นๆ ดูมีความเสี่ยงมากเกินไป ในทุกวันนี้คอมพิวเตอร์ทุกเ

ค่า LUX คืออะไร

รูปภาพ
หลาย ๆ ท่านที่กำลังหาความรู้หรือหาข้อมูลก่อนที่จะติดตั้ง กล้องวงจรปิด  คงจะเคยเห็นคำว่า  LUX  ผ่านๆ ตากันมาบ้างแล้ว แต่บางท่านก็ยังไม่ทราบว่า  LUX  นี้คืออะไร เกี่ยวข้องกับกล้องวงจรปิดยังไง ขอบอกได้เลยครับว่า  LUX  หรือการกินแสงสว่างของกล้องวงจรปิดนั้น มีผลความไวแสง, สีของวัตถุต่างๆ หรือการมองเห็นในที่มืดได้ ค่า  LUX  คือค่าความสว่างแสง หรือการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความยาวคลื่นที่สายตามนุษย์ มองเห็น ซึ่งกล้องวงจรปิดยิ่งมีค่า  LUX  ต่ำ ก็จะสามารถใช้งานในสถานที่ที่มีความสว่างน้อย ๆ หรือที่มืด ได้ดียิ่งขึ้น ตารางแสดงค่าความสว่างโดยประมาณของค่า Lux คำว่ากินแสงสว่าง 1  LUX  ก็คือถ้าจะมองเห็นวัตถุในตอนกลางคืน หรือที่มีแสงน้อยๆ จะต้องมีแสง อย่างน้อย 1  LUX  ถึงจะมองเห็นภาพได้ดี ดังนั้นจะเห็นว่ากล้องวงจรปิดรุ่นไหนที่มีค่า  LUX  ต่ำๆ เช่น 0.1  LUX  ก็จะทำให้เราสามารถเห็นภาพที่มีรายละเอียดชัดเจน ในที่มืดหรือแสงน้อยๆ ดังนั้นแสงภายในอาคารหากไม่ได้เปิดไฟค่า  Lux  0 กล้อง Day/Night บางรุ่นจะรับภาพไม่ได้ หรือรับได้ไม่ดี ซึ่งเราสามารถเปลี่ยนมาใช้กล้องอินฟาเรดแทน เทคโนโลยี Ultra-

เปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย Thermometer Infrared กับ Thermal Imager

รูปภาพ
หลังจากสถานการณ์  COVID-19  ได้ทุเลาลงแล้ว ทำให้มีสถานที่และกิจการหลายๆ แห่งเริ่มกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง แต่ว่าไวรัสก็ยังไม่ได้หายไปหมด ดังนั้นกิจการหลายๆ แห่ง จึงต้องมีการจัดเตรียมมาตราการป้องกันและเฝ้าระวัง ไวรัสโควิค 19  นี้อย่างต่อเนื่อง และอุปกรณ์ที่ใช้ในการเฝ้าระวัง ไวรัสโควิค 19  นั้นก็คือ " เครื่องวัดอุณหภูมิ " ซึ่งเครื่องวัดอุณหภูมิที่ใช้กันนั้นจะมีด้วยกันอยู่ 2 ประเภท คือ  Thermometer Infrared กับ Thermal Imager  และในบทความนี้ จะมาบอกข้อดีและข้อเสียของเครื่องวัดอุณหภูมิทั้ง 2 ประเภท เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ ในการเลือกซื้อเครื่องวัดอุณหภูมิแก่ธุรกิจของทุกๆ ท่าน Thermometer Infrared  หรือที่เราเรียกกันว่า " ปืนวัดอุณหภูมิ " เป็นที่นิยมใช้งานกันมากที่สุดเพราะมีขนาดเครื่องเล็กกระทัดรัด พกพาง่าย  เครื่องวัดอุณหภูมิ โดยการเล็งเครื่องวัดให้ตรงไปยังวัตถุหรือสิ่งที่ต้องการวัด และเมื่อกดปุ่มยิงเครื่องก็จะทำการวัดอุณหภูมิ แล้วแสดงผลค่าอุณหภูมิที่วัดได้ขึ้นมาบนหน้าจอ การวัดอุณหภูมิด้วยวิธีนี้มีความแม่นยำสูง แต่ว่าในการวัดอุณหภูมิต้องเว้นระยะห่างในการวัดอย่างน้อย 10-1

มารู้จักกับเครื่องวัดอุณหภูมิ Thermal Imager

รูปภาพ
Thermal Imager  หรือ  Thermal Imaging Camera  เป็น เครื่องมือวัดอุณหภูมิ ที่ผิวของวัตถุ ทำงานโดยอาศัยหลักการแผ่รังสีอินฟราเรด (infrared radiation) ออกจากวัตถุ ซึ่งเป็นการวัดแบบไม่สัมผัสและไม่ทำลายวัตถุ และเป็น การวัดอุณหภูมิ แบบพื้นที่ มีส่วนประกอบสำคัญประกอบด้วย เลนส์ (lens) ตัวตรวจจับรังสีอินฟราเรด (infrared detector) หรือเซนเซอร์ชนิดอินฟราเรด (Infrared sensor) วงจรอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic circuit) และส่วนแสดงผล (display) ดังนั้น  Thermal Imager  คือ กล้องถ่ายภาพความร้อน โดยอาศัยหลักการ การแผ่รังสีอินฟราเรดจากวัตถุในการวัดอุณหภูมินั้นเอง หลักการทำงานของกล้องถ่ายความร้อน Thermal Imager หลักการทำงานของ กล้องถ่ายความร้อน  จะมีขั้นตอนเริ่มจาก ตัวตรวจจับรังสีอินฟราเรดรับรังสีอินฟราเรด (infrared) ที่แผ่ออกจากวัตถุเป้าหมาย (target) ผ่านเลนส์ของเครื่องมือวัด (instrument) แล้วแปลงรังสีอินฟราเรดเหล่านี้ให้อยู่ในรูปของสัญญาณทางไฟฟ้า โดยรังสีอินฟาเรดที่ตัวตรวจจับรับไปนั้นประกอบด้วยรังสีที่วัตถุเป้าหมายแผ่ออกมารวมกับรังสีที่แผ่จากวัตถุอื่นหรือจากสิ่งแวดล้อมสะท้อนออกจากผิวของวัตถุเป้าหมาย (ตาม