บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2020

เกร็ดความรู้เรื่อง AI เทคโนโลยีแห่งอนาคต

รูปภาพ
ปัจจุบันเราปฎิเสธไม่ได้ว่า เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI  นั้นได้เข้ามีส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนโลกใบนี้ ไม่ใช่เพียงแค่ด้านเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงด้านอุตสาหกรรมและธุรกิจอื่นๆ โดยเฉพาะด้านการแพทย์ และที่สำคัญ ปํญญาประดิษฐ์หรือ AI  ยังสามารถพัฒนาต่อไปได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ทำให้มีนักธุรกิจหรือนักลงทุนจากหลากหลายแห่ง พร้อมที่จะลงทุน และคาดหวังผลตอบแทนจากมันค่อนข้างสูง และในบทความนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI  กัน AI คืออะไร AI  ย่อมาจาก  Artificial Intelligence  แปลงตรงตัวก็คือ  ปัญญาประดิษฐ์  หมายถึงโปรแกรมที่ถูกเขียนและพัฒนาให้มีความฉลาด มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ วางแผน และตัดสินใจได้ จากการประมวลผลของฐานข้อมูลขนาดใหญ่ และยังสามารถดัดแปลงการประมวลผล ประยุกต์ ให้เป็นไปตามสถานการณ์ต่างๆ โดยที่ไม่จำเป็นต้องรอการอนุมัติจากมนุษย์  AI  เป็นยิ่งกว่าระบบประมวลผล และเป็นยิ่งกว่า Machine Learning เพราะผลลัพธ์ของ  AI  คือ การกระทำ เช่น การคุยโต้ตอบใน SIRI การใช้ระบบสแกนหน้าเพื่อปลดล็อคมือถือ เป็นต้น ในขณะที่ ผลลัพธ์ของ Machine Learning เป็นตัวเลข หรือราย

7 นวัตกรรมสุดล้ำของกล้องวงจรปิด

รูปภาพ
  ในยุคปัจจุบันนั้นการเปิดกว้างทางด้านเทคโนโลยีและการติดต่อสื่อสาร ทำให้เกิดนวัตกรรมสุดล้ำต่างๆ ขึ้นอย่างมากมายและหนึ่งในนั้นก็คือกล้องวงจรปิดที่ถูกพัฒนาขึ้นให้มีความสามารถมากมายหลากหลาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาความปลอดภัย และในบทความนี้เราจะขอแนะนำให้ทุกท่านรู้จักกับ 7 นวัตกรรมสุดล้ำที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ กล้องวงจรปิด กัน มุมมองกล้อง 360 องศา กล้องวงจรปิด ส่วนใหญ่มีมุมมองของเลนส์กว้างสุดราวร้อยกว่าองศา ซึ่งก็อาจเพียงพอสำหรับการเฝ้ามองสำหรับหลายๆ แห่ง แต่หากต้องการสายตาที่ครอบคลุมยิ่งขึ้น ก็ต้องเพิ่มจำนวนกล้อง รวมถึงการวางตำแหน่งติดตั้งที่แตกต่างกัน ซึ่งดูแล้วก็เป็นทั้งความง่ายและยากในงานเดียวกัน ทำให้ผู้ผลิตหลายๆ แบรนด์ ต่างตั้งเป้าพัฒนามุมมองของเลนส์กล้องวงจรปิดให้กว้างถึง 180 องศา และยังสามารถพัฒนาได้ถึง 360 องศา ซึ่งอาจเป็นไปได้จากการทำงานด้วยตัวมันเอง หรือทำงานร่วมกับซอร์ฟแวร์ แต่นั่นล้วนเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้กล้องหนึ่งตัว มีประสิทธิภาพมากขึ้นหลายเท่าตัว กล้องวงจรปิดมุมองแบบ Fisheye ช่วยให้การมองเห็นนั้นกว้างขึ้น การจดจำใบหน้า อาจเป็นเรื่องน่าเหลือเชื่อที กล้องวงจรปิด

ทำความรู้จักกับ IoT (Internet of Things)

รูปภาพ
  ในโลกที่เทคโนโลยีก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดด หลายๆ คนมักจะได้ยินหรือคุ้นเคยกับคำว่า  Internet of Things  หรือ  IoT  กันมาบ้าง พวกเราต่างรู้กันว่า  IoT  คือสิ่งที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโลก และนำเทคโนโลยีพัฒนาออกไปได้ไกลมากขึ้น แต่ว่าแล้วอะไรคือ  Internet of Things  มันเปลี่ยนแปลงโลกนี้ยังไง ในบทความนี้เราจะพาทุกท่านไปหาคำตอบกันว่า  Internet of Things  คืออะไร ความหมายของ Internet of Things (IoT) ถ้าแปลความหมายตรงตัวก็คือ “ อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง ” นั้นหมายถึง อุปกรณ์หรือสิ่งต่างๆ สามารถเชื่อมโยงกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ ทำให้เราสามารถดำเนินการจัดการหรือควบคุมอุปกรณ์หรือสิ่งต่างๆ เหล่านั้นได้ โดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตัวอย่างเช่น การเปิด - ปิด อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ด้วยมือถือ เป็นต้น และด้วยเหตุจึงได้มีการกำเนิดเทคโนโลยีหรือนวัตกรรม Smart ต่างๆ ให้เราเห็นกันในปัจจุบัน อาทิเช่น Smart Watch, หุ่นยนต์เครื่องดูดฝุนอัจฉริยะ, กล้องวงจรปิดอัจฉริยะ, หรือแม้กระทั่ง Cloud Storage ที่เราใช้เก็บไฟล์หรือข้อมูลต่างๆ บนก้อนเมฆก็นับเป็น   Internet of Things  อย่างหนึ่งด้วยเหมือนกัน แนวคิดเรื่อง Internet of

สัญญาณ Analog กับ Digital

รูปภาพ
  หากพูดถึงเกี่ยวกับเทคโนโลยี คำศัพท์ที่เรามักจะได้ยินกันอยู่บ่อยๆ ก็คือ  Analog กับ Digital  ทั้ง 2 คำนี้นับว่าเป็นพื้นฐานของวิชาดิจิตอล และเป็นความสำคัญอย่างยิ่งของการก่อเกิดเทคโนโลยีต่าง ๆ ในปัจจุบัน โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับสัญญาณหรือโทรคมนาคม ในบทความนี้เราจะมาอธิบายถึง ความมแตกต่างของสัญญาณ Analog และ Digital  กัน Analog and Digital สัญญาณที่ใช้ในระบบสื่อสารแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ สัญญาณอนาลอกและสัญญาณดิจิตอล   สัญญาณอนาลอก เป็นสัญญาณที่มีขนาดเป็นค่าต่อเนื่องส่วน สัญญาณดิจิตอล เป็นสัญญาณ ที่มีขนาดเปลี่ยนแปลง เป็นค่าของเลขลงตัว โดยปกติมักแทนด้วย ระดับแรงดันที่แสดงสถานะเป็น "0" และ "1" หรืออาจจะมีหลายสถานะ ซึ่งจะกล่าวถึงในเรื่องระบบสื่อสารดิจิตอล มีค่าที่ตั้งไว้ (threshold) เป็นค่าบอกสถานะ ถ้าสูงเกินค่าที่ตั้งไว้สถานะเป็น "1" ถ้าต่่ากว่าค่าที่ตั้งไว้ สถานะเป็น "0" ซึ่งมีข้อดีในการท่าให้เกิดความผิดพลาดน้อยลงเนื่องจากสัญญาณรบกวนต้องมีค่าสูงกว่าค่าที่ตั้งไว้สถานะจึงจะเปลี่ยน ตัวอย่างเช่น ในระบบดิจิตอล สถานะของข้อมูลเป็น "0" สัญญาณรบก