5G เทคโนโลยีเครือข่ายเพื่อโลกยุคใหม่


5G ถือเป็นเทรนด์เทคโนโลยีที่กําลังมาแรง พูดถึงกันอย่างแพร่หลายในโลกปัจจุบัน ซึ่งประเทศไทยได้วางแผนใช้ 5G ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับปัจจุบันในหมวดของโลจิสติกส์คาดว่าจะเริ่มใช้ในปี 2563 ประเทศไทยพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายตั้งแต่ยุค 2G เปลี่ยนผ่านเป็น 3G และ 4G ทําให้การสื่อสารด้วยภาพ เสียง และวิดีโอเป็นไปอย่างรวดเร็ว จนถึงยุคปัจจุบันที่โทรศัพท์กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจําวันของผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมอย่างไรก็ตาม ความต้องการในการเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเราจําเป็นที่จะต้องหาเทคโนโลยีใหม่เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงรองรับการใช้งานในรูปแบบใหม่ๆ เพื่อสนองต่อการพัฒนาสังคมดิจิทัลในยุคนี้

เข้าใจและเตรียมพร้อมสำหรับ 5G
ใครที่ใช้งาน 3G และ 4G มาแล้ว คงจะรู้ว่ามันคือการขยายช่องสัญญาณให้ความเร็วอินเทอร์เน็ตไร้สายสามารถรองรับปริมาณข้อมูลได้มากๆ หรือ “เร็วขึ้น” นั่นเอง โดย 4G นั้นหากไม่มีการแชร์ใช้งาน อาจวิ่งด้วยความเร็วได้สูงหลายร้อยเมกะบิตต่อวินาที

แต่สำหรับ 5G คือความเร็วที่ระดับ 1กิกะบิตต่อวินาที (1Gbps) และมีความเสถียรอย่างมาก เพื่อให้สามารถใช้งานใน IoTs ได้ เช่น รถยนต์ไร้คนขับ ที่มีความเกี่ยวข้องกับความปลอดภัย ความแม่นยำ และการไปถึงจุดหมายปลายทาง รวมถึงการใช้งาน IoTs อื่นๆ ในอนาคตที่ต้องการการทำงานแบบอัตโนมัติ แต่การใช้งานโดยรวมแล้ว ยังไงก็ต้องผสานรวมกับ 4G เพื่อช่วยให้การเชื่อมต่อมีประสิทธิภาพสูงสุด ถือว่า 5G จะมาเปลี่ยนรูปแบบของอุตสาหกรรมจากเดิม

ในปี 2012 มีการใช้งาน IoTs ทั่วโลก 142 ล้านการเชื่อมต่อ แต่ในปี 2020 จะมีเพิ่มเป็น 975 ล้านการเชื่อมต่อ ที่สำคัญการเชื่อมต่อจะใหญ่ขึ้นกว่าเดิม ขณะที่การใช้งานข้อมูลผ่านโมบายทั่วโลกเมื่อปี 2014 อยู่ที่ 2.6EB ต่อเดือน (EB คือ Exabyte = ประมาณพันล้านกิกะไบต์) และจะเพิ่มเป็น 15.9EB ต่อเดือนในปี 2018

5G เหนือกว่า 4G อย่างไร?
การตอบสนองไวกว่า ถ้าเราใช้ 4G สั่งงานควบคุมสิ่งต่างๆได้เร็วที่ 20 – 30 ms (Milli-second 1:1,000 วินาที) แต่ถ้าใช้ 5G การสั่งงานเพื่อควบคุมอุปกรณ์ที่เชื่อมอินเตอร์เน็ตได้เร็วขึ้น 10 เท่า
การรับส่งข้อมูลได้มากกว่า 4G โดย 4G จะรับส่งข้อมูลต่อเดือนได้แค่ 7.2 Exabytes แต่ 5G จะทำให้เรารับส่งข้อมูลได้เพิ่มขึ้น 7 เท่า คือ 50 Exabytes ต่อเดือน
5G มีความถี่สำหรับใช้งานมากกว่า เราจึงสามารถใช้งานคลื่นความถี่ได้ถึง 30GHz
5G รับรองจำนวนผู้ใช้งานในแต่ละพื้นที่ได้มากกว่า โดยที่ 4G สามารถรองรับผู้ใช้งานได้ราว 1 แสนคนต่อพื้นที่ 1 ตร.กม. แต่ 5G จะรองรับผู้ใช้งานได้ถึง 10 เท่า / 1 ล้านคนต่อพื้นที่ 1 ตร.กม.
ถ่ายโอนข้อมูลต่อวินาทีได้ปริมาณมากกว่า 4G โดย 4G นั้นโอนข้อมูลได้เพียง 1 GB ต่อวินาที แต่ 5G จะทำได้ถึง 20 GB ต่อวินาที หรือ 20 เท่าของ 4G
จุดเด่นและข้อดีของเทคโนโลยีเครือข่าย 5G


ภาพแสดงจุดเด่นและข้อดีของเทคโนโลยีเครือข่าย

สำหรับคุณสมบัติหลักเด่นชัดของ 5G ที่เห็นได้ชัดเลยคงเป็นเรื่องของคุณภาพการรับชมวีดีโอ หรือการเล่นเกมส์ออนไลน์ ที่ช่วยให้ผู้ใช้บริการได้สัมผัสกับคุณภาพความคมชัด และความรวดเร็วเทียบเท่ากับการใช้งานผ่านโครงข่ายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) หรือการที่สามารถทำงานและเข้าถึงข้อมูลทุกอย่างที่อยู่บน Cloud ไม่ว่าจะรูปแบบภาพ หรือวิดีโอ ได้แบบทันทีที่ต้องการ รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีให้มีความเร็วในการดาวน์โหลดและอัพโหลดที่สูงกว่าเทคโนโลยี 4G อีกด้วย

นอกจากนี้ เทคโนโลยี 5G ยังถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการเชื่อมต่อจำนวนมากๆ ผ่านอินเตอร์เน็ต หรือที่เรียกกันว่า IoT อาทิ รถยนต์ไร้คนขับ การผ่าตัดได้จากระยะไกล หุ่นยนต์ในโรงงาน สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานซึ่งถือว่ามีความเร็วมากกว่าเทคโนโลยี 4G เกิน 10 เท่า รวมถึงช่วยให้เกิดการใช้งาน AR และ VR ในกิจกรรมต่างๆ อาทิ การสำรวจภาคสนาม การสาธารณสุขทางไกล ความบันเทิง และท่อส่งข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อใช้ในการเข้าถึงการใช้งาน Cloud Computing ซึ่ง 5G ช่วยพัฒนาศักยภาพของระบบค้าปลีก การซื้อของออนไลน์ รวมถึงการใช้งานต่างๆ ของออฟฟิศอัจฉริยะ (Smart Office) และนำไปสู่ระบบเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities) ในอนาคต

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบ Access Control System ประกอบด้วยอะไรบ้าง

Rtsp ในกล้องวงจรปิดไอพี คืออะไร

อุปกรณ์MATVระบบ ทีวีอาคาร มีอะไรบ้าง