บทความ

เกร็ดความรู้ระบบเครือข่าย Fiber Optic คืออะไร

รูปภาพ
  ไฟเบอร์ออฟติก (Fiber Optic)  หรือ สายใยแก้วนำแสง เป็นสายนำสัญญาณอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงไปสู่ทุกบ้านทุก แต่หลายคนก็ยังไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วระบบ ไฟเบอร์ออฟติก (Fiber Optic) นั้นคืออะไร ทำไมถึงได้เป็นที่นิยมในการใช้งาน ดังนั้นในบทความนี้เราจะพาผู้อ่านทุกคนไปรู้จักกับ  ไฟเบอร์ออฟติก (Fiber Optic)  กัน ไฟเบอร์ออฟติก ( Fiber Optic) หรือสายใยแก้วนำแสง คืออะไร สายสัญญาณที่ใช้กับเครือข่ายคอมพิวเตอร์มักจะมีปัญหาของสายที่มีตัวนำเป็นโละ โดยปัญหาที่ว่าก็คือสัญญาณที่วิ่งอยู่ภายในสายนั้น อาจจะถูกรบกวนได้โดยเคลื่อนแม่เหล็กไฟฟ้าจากแหล่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น มอเตอร์ไฟฟ้า เครื่องใช้ฟ้า เครื่องต่างๆ ที่ผลิตสนามแม่เหล็ก หรือแม้กระทั่งกับปรากฎการณ์ธรรมชาติทั่วไป เช่น ฟ้าร้อง หรือว่าฟ้าผ่า เป็นต้น และการเดินสายเป็นระยะทางมที่ค่อนข้างไกลมากๆ มักจะมีการสูญเสียของสัญญาณเกิดขึ้น ทำให้จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์สำหรับทวนสัญญาณเป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้นจึงได้มีการคิดค้นและพัฒนาสายสัญญาณแบบใหม่ โดยสายสัญญาณแบบใหม่นี้ จะใช้ตัวนำซึ่งไม่ได้เป็นโลหะขึ้นมา เพื่อลบจปัญหาที่เกิดขึ้นจากสายน้ำสัญญาณที่ใช้วัตถุเป็นโลหะ ซึ่งสายสัญญาณท

เกร็ดความรู้ ระบบเครือข่าย Spannning Tree Protocol

รูปภาพ
  การเกิด Loop ในระบบเครือข่ายนั้นเป็นปัญหาร้ายแรงอย่างมาก เพราะจะทำให้การรับส่งข้อมูลนั้นมีปัญหาและทำให้ระบบไม่สามารถสื่อสารกันได้ดังนั้นในการติดตั้งระบบเครือข่าย ผู้ติดตั้งระบบจำเป็นต้องมีทักษะและวิธีการรับแก้ไขปัญหาการเกิด Loop ในระบบเครือข่ายนี้ และวิธีที่นิยมใช้ในการแก้ไขปัญหานี้ก็คือการทำ Spanning Tree ในระบบเครือข่าย ฉะนั้นในบทความนี้เราจะพามารู้จักกับการทำงานของ Spanning Tree หรือ โปรโตคอล STP กัน รู้จักปัญหา Loop กันก่อน Loop คือ สถานะที่อุปกรณ์ส่งข้อมูลออกไปบนระบบ แล้วเกิดการวนแบบไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อมีการต่อใช้งานระบบเครือข่ายผ่าน Switch โดยมีเส้นทางเดียวจากต้นทางไปยังปลายทาง  ถ้า Link ระหว่าง Switch ทั้งสองตัวเกิดมีปัญหาขึ้นมา ก็ทำให้ระบบไม่สามารถใช้งานได้ เราจึงต้องมีการเพิ่ม Switch ขึ้นมาอีกหนึ่งตัว เพื่อให้มีเส้นทางสำรอง เมื่อ Link ระหว่าง Switch เดิมมีปัญหา ระบบจะยังสามารถใช้งานต่อได้ โดยผ่านไปทาง Switch อีกตัว แต่ว่าเนื่องจาก Switch ทั้ง 3 ตัว ต่อกันแบบ Loop ทำให้ข้อมูลที่ส่งไป เกิดการส่งวนไปวนมาได้ แบบไม่มีที่สิ้นสุด โดยทางเทคนิคเราเรียกปัญหานี้ว่าการเกิด Bridge Lo

เกร็ดความรู้ ระบบเครือข่าย TELNET คืออะไร

รูปภาพ
  จากชื่อหัวข้อบทความอาจจะคล้ายกับชื่อหนังเรื่องดังเรื่องหนึ่ง แต่ว่านี่ไม่ใช่บทความสปอยหนังแต่อย่างใด Telnet ที่เรากำลังจะพูดถึงกันในบทความนี้คือ บริการทางอินเทอร์เน็ตรูปแบบหนึ่งของระบบเครือข่าย ในบทความนี้เราจะมาดูกันว่า Telnet สามารถทำอะไรได้บ้าง และมีประโยชน์อย่างไร Telnet คืออะไร Telnet คือบริการที่เป็นการขอเข้าใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จากระยะไกล ผู้ใช้นั้นสามารถขอเข้าใช้ได้ขอแค่ติดต่อเครือข่ายที่ได้รับอนุญาต โดยไม่จำเป็นว่าต้องนั่งอยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น การขอใช้นั้น ผู้ใช้จะป้อนคำสั่งที่เครื่องของตัวเองไปยังเครื่องที่เราขอเข้าใช้ แล้วผลก็จะกลับมาแสดงที่หน้าจอเรา เทลเน็ตเป็นชื่อของโพรโทคอลที่ใช้ในการจำลองเทอร์มินัลผ่าน ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นโพรโทคอลในชุด TCP/IP และเทลเน็ตก็เป็นชื่อของโปรแกรมที่ให้เราสามารถใช้คอมพิวเตอร์จากระยะไกลได้ ถ้าเราได้รับอนุญาตจากเจ้าของเครื่อง เป็นที่นิยมใช้งานกันอย่างในกลุ่มของผู้ดูแลระบบเครือข่ายในองค์กร เพราะสามารถควบคุมเครื่องเซิร์ฟเวอร์ได้จากระยะไกล โดยไม่จำเป็นต้องไปที่เครื่อง หลักการทำงานของTelnet คุณสมบัติที่สำคัญอันหนึ่งของอิ

เกร็ดความรู้ ระบบเครือข่าย NPAT คืออะไร

รูปภาพ
ในบทความที่แล้วเราได้รู้จักเกี่ยวกับ NAT (Network Address Translation) กันไปแล้วว่า NAT นั้นมีไว้ทำอะไรและมีประโยชน์อย่างไร และในบทความนี้เราจะมาพูดถึง NAPT (Network Address Port Translation) ซึ่งเป็นอีกส่วนหนึ่งของ NAT ที่มีลักษณะหน้าที่การทำงานที่เหมือนกัน แต่ว่ามีประสิทธิภาพและความปลอดภัยที่ดีกว่าการทำ NAT แบบที่เรารู้จักกัน NAPT คืออะไร NAPT เป็นคำศัพท์ที่ย่อมาจาก Network Address Port Translation กระบวนการที่คล้ายกับการทำ NAT แต่จะมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในชั้น transport ด้วย หรือก็คือจะเราสามารถกำหนด Port ที่ต้องการรับส่งข้อมูลไปยัง Public Network ได้นั้นเอง ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะช่วยให้ Private IP หลายๆ ตัว สามารถทำ NAT โดยใช้หมายเลข IP Address ที่จดทะเบียนเพียงหมายเลขเดียวได้ ทำไม PublicIP เดียวจึงสามารถใช้กับ Private IP ได้หลายตัว ก็อื่นเรามาทำความเข้าใจก่อนว่า การสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยใช้ช่องทางสื่อสาร TCP/IP จะองค์ประกอบอยู่ด้วยกัน 4 อย่าง ดังต่อไปนี้ 1. Source IP Address คือ IP Address ของต้นทางหรือฝั่งผู้ส่ง 2. Source Port คือหมายเลข Port ของฝั่งผู

เกร็ดความรู้ระบบเครือข่าย NAT คืออะไร

รูปภาพ
เป็นที่เรารู้กันดีอยู่แล้ว หมายเลข  IP Address  เป็นสิ่งที่ใช้ระบุตำแหน่งของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพื่อรับส่งข้อมูล แน่นอนหมายเลขของแต่ละเครื่องจะไม่ซ้ำกัน แต่ว่าในปัจจุบันจำนวนอุปกรณ์นั้นมีเพิ่มมากขึ้น และการเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตก็มากขึ้นเช่นกัน ทำให้หมายเลข IP ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ดังนั้น  NAT  จึงเป็นทางออกในการแก้ไขปัญหา IP ของผู้ใช้เพื่อให้สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ และยังเพิ่มความปลอดภัยในเครือข่ายได้อีกด้วย NAT  คืออะไร NAT  เป็นคำที่ย่อมาจาก  Network Address Translation  เป็นมาตรฐานหนึ่งของ RFC ถูกเขียนขึ้นในปี 1994 โดยสามารถแปลง (translation) IP หลายๆ ตัวที่ใช้ภายในเครือข่ายให้ติดต่อกับเครือข่ายอื่นโดยใช้ IP เดียวกันตัวอย่างเช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา  IP Address  เป็น 192.168.1.28 ซึ่งเป็น Private IP ใช้สำหรับรับส่งข้อมูลภายในองค์กรแต่เมื่อใดที่เราต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ต เราเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ทำเป็น  NAT  Device จะแปลงหมายเลข IP นั้นเป็นหมายเลขอื่นเพื่อเข้าถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ต สรุปก็คือ  NAT  เป็นการแปลงหมายเลข IP แบบ Private IP ให้กลายเป็น Public IP เพื่อให้สามารถเข้า

MQTT โปรโตคอลเชื่อมทุกอุปกรณ์ในโลก

รูปภาพ
อินเทอร์เน็ตทุกวันนี้เราอาจจะมองแทบทุกอย่างเป็นเว็บไปได้เพราะการสื่อสารส่วนมากบนอินเทอร์เน็ตส่งข้อมูลผ่านโปรโตคอล HTTP แต่ในโลกยุค Internet of Things (IoT) อีกโปรโตคอลที่กำลังมีการใช้งานมากขึ้นเรื่อยๆ คือ MQTT หรือ MQ Telemetry Transport โปรโตคอลสำหรับการเชื่อมต่อแบบ machine-to-machine หรือคอมพิวเตอร์สู่คอมพิวเตอร์ MQTT คืออะไร MQTT ย่อมาจาก Message Queuing Telemetry Transport เป็นโปรโตคอลสำหรับใช้ในสื่อสารข้อมูลระหว่าง Machine to Machine (M2M) ถูกคิดค้นขึ้นในปี ค.ศ. 1999 โดย Dr Andy Stanford-Clark จาก IBM และ Arlen Nipper จาก Arcom (now Eurotech) ออกแบบมาเพื่อใช้สื่อสารในระบบเครือข่ายที่มีทรัพยากรค่อนข้างจำกัด ใช้งานแบนด์วิธต่ำ สามารถ publish-subscribe ข้อมูลระหว่าง Device เพื่อสื่อสารกันระหว่างอุปกรณ์ และถ้ามองในด้านที่เกี่ยวกับ Internet of Things จะสามารถประยุกต์ให้อุปกรณ์ต่างๆเชื่อมต่อกันผ่านเครือข่ายของอินเทอร์เน็ตได้ ทำให้เราสามารถสร้างสรรค์โครงงานที่เกี่ยวกับการติดตามอุปกรณ์ เช่น มอนิเตอร์อุปกรณ์ผ่านอินเทอร์เน็ต ควบคุมอุปกรณ์ผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น สำหรับระบบ IoT นั้น การติ

SNMP โปรโตคอลเพื่อการจัดการระบบเครือข่าย

รูปภาพ
  ในปัจจุบันนี้เราปฎิเสธไม่ได้ว่า ระบบเครือข่าย และอินเทอร์เน็ตมีส่วนสำคัญในการดำเนินชีวิตของเรา ไม่องค์กรหรือธุรกิจไหนต่างก็ต้องมีระบบเครือข่ายเป็นตัวเอง แต่ว่าสิ่งเรามักละเลยกับมันนั้นก็คือ การดูแลรักษา ระบบเครือข่าย ของเราให้ใช้ได้อยู่อย่างสม่ำเสมอ บริษัทหรือองค์กรขนาดใหญ๋มักจะมีการว่าจ้างผู้ดูแลระบบเพื่อมาดูแลในส่วน ระบบเครือข่าย นี้ แต่ว่าหากอุปกรณ์เหล่านั้นมีจำนวนมาก ก็เป็นเรื่องยากที่คนหนึ่งคนจะตามไปซ่อมบำรุงรักษาให้ทั้งหมดดังนั้นจึงมีการคิดค้นโปรโตคอลตัวหนึ่ง เพื่อใช้ในการเฝ้าระวังและติดตามผลการทำงานของอุปกรณ์ เพื่อให้เราสามารถทราบตำแหน่งของอุปกรณ์ที่มีปัญหาเหล่านั้น และเข้าไปซ่อมบำรุงแก้ไขได้ทันที และในวันนี้เราจะพาทุกท่านไปรู้จัก โปรโตคอล ตัวนั้น เพื่อให้เข้าใจหลักการทำงานและเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการดูแลระบบ ซึ่งโปรโตคอลนั้นก็คือ SNMP SNMP คืออะไร SNMP เป็นคำย่อมาจาก Simple Network Management Protocol เป็นโปรโตคอลที่ใช้รวบรวมจัดเรียงข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์เครือข่าย เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลไปจากเดิมโดยผ่าน IP Address ขอซึ่ง อาทิเช่น Router, Modems, Switch, Server, Workstati