เกร็ดความรู้เรื่อง เทคโนโลยี RFID
RFID คือเทคโนโลยีในการบ่งชี้แบบหนึ่ง ย่อมาจาก Radio Frequency Identification วัตถุประสงค์หลักเพื่อนำมาใช้ ติดกับวัตถุต่างๆ เพื่อบ่งบอกถึงความเป็นตัวตนเฉพาะเจาะจง หรือเป็นหมายเลขประจำตัว เช่นใช้แทนฉลาก หรือรหัสแท่ง (Bar Code) ที่ติดกับสินค้า หรือใช้เป็นป้ายที่ติดกับใบหูของสัตว์เลี้ยง การทำงานของ RFID อาศัยคลื่นวิทยุ โดยจะมีส่วนประกอบสำคัญคือ เครื่องอ่าน กับ แท็ก โดยแท็กจะมีการส่งข้อมูลที่เป็นเอกลักษณ์หรือหมายเลขประจำตัวออกมาเป็นคลื่นวิทยุเมื่อถูกกระตุ้นด้วยกระบวนการบางอย่างจากเครื่องอ่าน สำหรับเครื่องอ่านจะมีส่วนที่รับสัญญาณคลื่นวิทยุได้เพื่อถอดรหัสข้อมูลที่ส่งมาจากแท็ก
ปัจจุบันได้มีการพัฒนาการใช้งาน RFID ให้มีความสามารถมากขึ้น เช่นการนำไปใช้งานกับบัตรสมาร์ตคาร์ดเป็นบัตรสมาร์ทคาร์ดแบบไร้หน้าสัมผัส (Contactless Smart Card) ทำให้นอกจากจะมีการรับส่งข้อมูลหมายเลขประจำตัวแล้ว ก็ยังสามารถติดต่อสื่อสารและเขียนอ่านข้อมูลที่มีปริมาณมากกว่าเดิมได้
แท็ก (Tag)
โครงสร้างภายในของแท็กจะประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ขดลวดขนาดเล็กซึ่งจะทำหน้าที่เป็นสายอากาศ (Antenna) สำหรับรับส่งสัญญาณคลื่นความถี่วิทยุ และสร้างพลังงาน ป้อนให้ส่วนของไมโครชิพ (Microchip) ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลของวัตถุ เช่น รหัสสินค้า โดยทั่วไปตัวแท็กอาจอยู่ในชนิดทั้งเป็นกระดาษ แผ่นฟิล์ม พลาสติก มีขนาดและรูปร่างต่างๆกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัสดุที่จะนำไปติดและมีหลายรูปแบบเช่น ขนาดเท่ากับบัตรเครดิต เหรียญ กระดุม ฉลากสินค้า แคปซูน เป็นต้น ส่วนในเรื่องของโครงสร้างและราคาจะแบ่งชนิดของ Tag เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
Passive RFID Tag
คือ เป็นแท็กที่ไม่ต้องอาศัยแหล่งจ่ายไฟภายนอกใดๆ เพราะภายในจะมีวงจรกำเนิดไฟฟ้าเหนี่ยวนำขนาดเล็กอยู่ ฉะนั้นการอ่านข้อมูลได้ไม่ไกลนัก ระยะไม่เกิน 1 เมตรขึ้นอยู่กับความแรงของเครื่องส่งและคลิ่นความถี่วิทยุ หน่วยความจำขนาดเล็ก 16 – 1,024 ไบร์ท ส่วน IC(Integrated circuits) จะควบคุมโครงสร้างเป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ
ส่วนควบคุมการทำงานของภาครับ-ส่งสัญญาณวิทยุ(Analog Front End)
ส่วนควบคุมภาค Logic (Digital control unit)
ส่วนของหน่วยความจำ(Memory) ซึ่งอาจจะเป็นแบบ ROM หรือ EEPROM
ส่วนควบคุมภาค Logic (Digital control unit)
ส่วนของหน่วยความจำ(Memory) ซึ่งอาจจะเป็นแบบ ROM หรือ EEPROM
Active RFID Tag
คือ เป็นแท็กที่ต้องอาศัยแหล่งจ่ายไฟจากแบตเตอรี่ภายนอกเพื่อจ่ายพลังงานให้กับวงจรภายในทำงานซึ่งจะมีหน่วยความจำได้ถึง 1 เมกะไบร์ท การอ่านข้อมูลได้ไกลสูงสุด 10 เมตรซึ่งแท็กชนิดนี้สามารถแบ่งประเภทย่อยๆได้อีก ดังนี้
สามารถถูกอ่านและเขียนข้อมูลได้อย่างอิสระ(Read-Write)
สามารถเขียนได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นแต่อ่านได้อย่างอิสระ(Write- Once Read- Many หรือ WORM)
สามารถอ่านได้เพียงอย่างเดียว (Read – only)
สามารถเขียนได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นแต่อ่านได้อย่างอิสระ(Write- Once Read- Many หรือ WORM)
สามารถอ่านได้เพียงอย่างเดียว (Read – only)
RFID กับเทคโนโลยีโลกอนาคต
โดยส่วนมาก เรามักจะคุ้นเคยการนำ RFID มาใช้ในระบบ Access Control หรือระบบลานจอดรถ มากกว่า แต่ว่า RFID สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ ได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น การใช้พัฒนาระบบ E-Ticket ในการจ่ายชำระค่าทางด่วน หรือบริการต่าง ระบบ E-passport ยืนยันบุคคลที่เดินทางไปต่างประเทศ และนอกจากยังมีการนำเทคโนโลยี RFID ไปใช้ในทางการแพทย์ อย่างการฝังไมโครซิพในตัวผู้ป่วย เพื่อเก็บข้อมูลทางการแพทย์ อย่างเช่น กรุ๊ปเลือด โรคประจำตัว ภูมิแพ้ เป็นต้น ทำให้แพทย์นำข้อมูลเหล่าไปวินิจฉัยโรค และรักษาผู้ป่วยได้ทันการณ์เร็วมากขึ้น และเชื่อเทคโนโลยี RFID จะได้รับการพัฒนา และนำไปประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ ได้อีกในอนาคต
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น