ระบบ Access Control System ประกอบด้วยอะไรบ้าง


  คุณเคยสงสัย ไหมว่าระบบAccess Controlทำงานอย่างไร มีอุปกรณ์อะไรบ้าง ระบบ Access Control คือ ระบบ สแกนลายนิ้ว เข้า-ออก ประตู ก็คือว่า ถ้าคนมีลายนิ้วในเครื่องสแกนลายนิ้วก็จะสามารถผ่านเข้าประตูไปได้ และยังมีเสริมเช่น ขาด ลา มาสาย หรือ คำนวณเงินเดือน เป็นต้น

ข้อดีของการติดตั้งงานระบบ Access Control โดยใช้เครื่อง แสกนลายนิ้วมือ หรือ เครื่องทาบบัตร
-      ให้ความสะดวกรวดเร็วในการ เข้า-ออก ประตู
-      สามารถกำหนดสิทธิเข้าออกประตูได้ผ่าน Software โดยการระบุช่วงเวลา (Time Zone)
-      มีระบบเก็บลายนิ้วมือที่ส่วนกลางสามารถทำการส่งข้อมูลไปตามเครื่องที่ติดตั้งอยู่ใน Network ได้
-      มีระบบแจ้งเตือน เมื่อประตูมีการเปิดประตูค้าง
-      มีโปรแกรมควบคุมการทำงานผ่านระบบ LAN

ระบบ Access Control ประกอบด้ว
1.ชุดล๊อคประตู
ในระบบ access control นั้นเป็นการกำหนดสิทธิ์ให้เฉพาะผู้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นจึงจะมิสิทธิ์ผ่านเข้าไปได้ ดังนั้นในสถานะปกติของประตูจึงต้องอยู่ในสถานะประตูถูกล๊อค ซึ่งในการล๊อคนั้นมีสิ่งที่ต้องพิจารณาหลายอย่าง ดังนี้


1.1 ลักษณะของประตูเป็นแบบไหน 
หากเป็นลักษณะประตูไม้ ประตูกรอบอลูมิเนียม หรือประตู PVC ทั่วไปก็สามารถใช้ชุดยึดแม่เหล็กแบบ ZL(ASL-320ZL) หรือถ้าประตูเป็นกระจกบานเปลือยก็จะต้องใช้ตัวยึดแบบคลอบกระจกที่เป็นแบบตัว U(ASL-320U) เพื่อยึดแม่เหล็กกับประตูและวงกบ

1.2 อุปกรณ์ล๊อค 
ก็มีหลายแบบว่าจะใช้ล๊อคแม่เหล็กหรือใช้กลอนไฟฟ้า โดยล๊อคแม่เหล็กก็จะใช้หลักการสร้างสนามแม่เหล็กเพื่อดูดกันในการล๊อค สำหรับประตูทั่วไปก็ใช้ รุ่น ASL-3202A เพราะมีแรงดูดได้ถึง 280 กก.(หมายถึงอาจต้องใช้ข้าวสาร 100 กก. 3 กระสอบมาแขวนจึงจะสามารถเอาชนะอำนาจแม่เหล็กได้) แต่ถ้าต้องการแรงดูดที่มากกว่านี้ ก็สามารถใช้รุ่น ASL-3204A ซึ่งสามารถมีแรงดูดได้ถึง 500 กก. ส่วนกลอนไฟฟ้า(ASL-3301) ก็จะมีเดือยล๊อคเมื่อมีสัญญาณไฟฟ้า คล้าย ๆ กับการล๊อคประตูทั่วไป
  

1.3 จำนวนตัวล๊อค 
ในกรณีประตูบานเดี่ยว แน่นอนว่าต้องใช้ตัวล๊อคแค่ชุดเดียว แต่ในกรณีบานคู่ก็ควรใช้ตัวล๊อค 2 ชุดเพื่อความแข็งแรง โดยการล๊อค 2 ชุดนั้นอาจจะใช้ ล๊อคแม่เหล็ก ASL-3202A จำนวน 2 ตัว(1 บานประตู ต่อตัวล๊อค 1 ชุด) หรืออาจจะใช้ล๊อคแม่เหล็กคู่ ASL-3202B ก็ได้ ซึ่งออกแบบมาเพื่อใช้กับการล๊อคของประตูบานคู่โดยเฉพาะ
2.เครื่องสแกน 
โดยทั่วไปเครื่องสแกนที่มีในท้องตลาดจะมีปุ่มกดตัวเลขมาให้ นั่นคือมีฟังก์ชั่นของการป้อนรหัสมาให้เป็นพื้นฐาน โดยสามารถกดรหัสเพื่อสั่งปลดล๊อคประตูได้ แต่โดยทั่วไปการกดรหัสเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ เพราะหากมีใครแอบดูหรือแอบจำรหัสของเราก็จะสามารถเปิดประตูได้ ดังนั้นอาจจะต้องมีอุปกรณ์อื่นเพื่อเพิ่มระดับของความปลอดภัย นั่นคือ 
2.1 เครื่องทาบบัตร 
จะเป็นสินค้าในหมวดของ Anson คือ สามารถใช้การกดรหัสเพียงอย่างเดียวหรืออาจะใช้คู่กับการทาบบัตรในการปลดล๊อคเพื่อเปิดประตูได้ โดยเครื่องทาบบัตรก็มี 2 แบบ คือแบบที่ไม่สามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ได้ หรือเรียกว่าแบบ stand alone(ASI-8910 และ ASI-312E/W) ซึ่งจะมีหน้าที่เพียงปลดล๊อคแม่เหล็กเพื่อเปิดประตูเท่านั้น แต่ไม่สามารถบันทึกข้อมูลการเข้ามาของพนักงานได้ ดังนั้นหากเราต้องการเพียงแค่การเปิดประตูเท่านั้นก็สามารถเลือกสินค้าตัวนี้ เพราะมีราคาที่ไม่แพง ส่วนเครื่องที่สามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ได้นั้นก็จะสามารถบันทึกข้อมูลการสแกนของพนักงานได้ 
2.2 เครื่องทาบบัตร + เครื่องสแกนลายนิ้วมือ 
ในบางครั้งบัตรของเราอาจถูกหยิบยืมไปใช้หรือตกไปอยู่ในมือของคนอื่น เค้าก็จะเปิดประตูได้อีกเช่นกัน ดังนั้นสแกนนิ้วมือจึงเพิ่มเข้ามาเพื่อแก้ปัญหานี้ โดยจะเป็นสินค้าในหมวดของ HIP คือตัวเครื่องจะมีโหมดในการกำหนดการปลดล๊อคแม่เหล็กได้ถึง 7 รูปแบบ(กำหนดได้ที่ตัวเครื่องแสกน) นั่นคือ 
- ใช้รหัสอย่างเดียว 
- ใช้ทาบบัตรอย่างเดียว 
- ใช้สแกนนิ้วมืออย่างเดียว 
- ใช้รหัสและทาบบัตร ร่วมกัน 
- ใช้รหัสและสแกนนิ้วมือ ร่วมกัน 
- ใช้ทาบบัตรและสแกนนิ้วมือ ร่วมกัน 
- ใช้ทั้งการกดรหัสร่วมกับทาบบัตรและสแกนนิ้วมือ












3. การใช้ Flash Drive เพื่อบันทึกข้อมูล 
โดยฟังก์ชันนี้จะมีในเครื่องของ HIP เพราะ HIP จะมีพอร์ต usb และพอร์ต TCP/IP มาให้ด้วย แต่ในขณะที่ของ Anson จะไม่มีพอร์ต usb มาให้ จะมีเฉพาะพอร์ต RS485 และ TCP/IP ให้มา ซึ่งจะทำให้เครื่องของ HIP มีความสามารถที่เพิ่มขึ้นมาคือการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ในลักษณะของ off-line นั่นคือ เราสามารถ download log file บันทึกการเข้าออกของพนักงานลงใน flash drive ได้แล้วสามาถนำ log file นั้นมาลง computer เพื่อบันทึกเวลาการเข้าออกของพนักงานได้
4. การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ในลักษณะ on-line 
คือเพื่อมีการเข้าออกของพนักงานก็จะสามารถแสดงการเข้าออก ณ เวลาปัจจุบันที่เวลาจริง(real time) โดยสามารถเชื่อมต่อได้ทางพอร์ต RS485(ต้องมีอุปกรณ์แปลงจาก RS485 เป็น RS232) หรือ TCP/IP
5. โปรแกรม 
ในการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์จะต้องอาศัยโปรแกรมเพื่อทำการกำหนดค่าต่าง ๆ และบันทึกข้อมูลการเข้าออกของพนักงาน โดยโปรแกรมจะสามารถบันทึกเวลาการเข้า ออก กำหนดกะการทำงาน กำหนดช่วงเวลาโอที แสดงรายงานของพนักงาน เป็นต้น 
6. สวิตซ์กดออก 
ในการเข้าประตู เมื่อเข้ามาด้วยเครื่องแสกนก็จะมีการบันทึกข้อมูลการเข้ามา ส่วนในการออกไปก็สามารถออกไปได้ 2 รูปแบบคือ
6.1 ออกไปด้วยการกดปุ่มออก 
นั่นคือการกดสวิตซ์เพื่อปลดล๊อคแม่เหล็กแล้วออกไป การออกไปในลักษณะนี้นั้นจะไม่มีการบันทึกข้อมูลในการออก โดยสวิตซ์ที่กดก็มีหลากกลายรูปแบบ เช่นสวิตซ์กดสัมผัส แต่ในบางสถานที่ที่ไม่ต้องการให้มีการสัมผัสเพราะห่วงเรื่องความสะอาดเช่นโรงงานอาหาร โรงงานยา หรือโรงพยาบาล อาจใช้สวิตซ์ที่ไม่มีการสัมผัสที่เรียกว่า no touch switch หรืออาจจะใช้ remote ในการเปิดก็ได้
6.2 ออกไปด้วยการทาบบัตรกับ Reader 
วิธีนี้จะสามารถบันทึกเวลาในการออกได้ผ่านตัวอ่านบัตรที่เรียกว่า reader ซึ่งจะมีแบบต่าง ๆ โดยที่เราไม่จำเป็นต้องซื้อเครื่องทาบบัตรอีกเครื่องในการบันทึกเวลาเข้าออก ซื้อเพียงเฉพาะ reader เท่านั้น ซึ่ง reader จะเชื่อมต่อกับเครื่องสแกนด้านหน้าและบันทึกข้อมูลการออกไว้ในเครื่องสแกน
7. ชุดแปลงไฟและแบตเตอรี่ 
โดยปกติเครื่องทาบบัตรจะใช้กระแสไฟตรง 12 โวลท์ แต่ไฟในบ้านเป็นไฟสลับ 220 โวลท์ ดังนั้นจึงต้องมี อุปกรณ์อีกตัวหนึ่งที่เป็นตู้ควบคุมโดยในตู้ควบคุมจะประกอบด้วย
7.1 ชุดแปลงไฟ 
จะแปลงไฟบ้านให้ได้ระดับไฟที่เหมาะกับเครื่องสแกน
7.2 แบตเตอรี่ 
จะช่วยจ่ายไฟให้ระบบ กรณีที่ไฟดับ เพื่อให้ล๊อคแม่เหล็กยังสามารถทำงานและเครื่องสแกนจะยังสามารถเก็บข้อมูลอยู่ได้แม้ไฟจะดับก็ตาม


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Rtsp ในกล้องวงจรปิดไอพี คืออะไร

อุปกรณ์MATVระบบ ทีวีอาคาร มีอะไรบ้าง