บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2020

SNMP โปรโตคอลเพื่อการจัดการระบบเครือข่าย

รูปภาพ
  ในปัจจุบันนี้เราปฎิเสธไม่ได้ว่า ระบบเครือข่าย และอินเทอร์เน็ตมีส่วนสำคัญในการดำเนินชีวิตของเรา ไม่องค์กรหรือธุรกิจไหนต่างก็ต้องมีระบบเครือข่ายเป็นตัวเอง แต่ว่าสิ่งเรามักละเลยกับมันนั้นก็คือ การดูแลรักษา ระบบเครือข่าย ของเราให้ใช้ได้อยู่อย่างสม่ำเสมอ บริษัทหรือองค์กรขนาดใหญ๋มักจะมีการว่าจ้างผู้ดูแลระบบเพื่อมาดูแลในส่วน ระบบเครือข่าย นี้ แต่ว่าหากอุปกรณ์เหล่านั้นมีจำนวนมาก ก็เป็นเรื่องยากที่คนหนึ่งคนจะตามไปซ่อมบำรุงรักษาให้ทั้งหมดดังนั้นจึงมีการคิดค้นโปรโตคอลตัวหนึ่ง เพื่อใช้ในการเฝ้าระวังและติดตามผลการทำงานของอุปกรณ์ เพื่อให้เราสามารถทราบตำแหน่งของอุปกรณ์ที่มีปัญหาเหล่านั้น และเข้าไปซ่อมบำรุงแก้ไขได้ทันที และในวันนี้เราจะพาทุกท่านไปรู้จัก โปรโตคอล ตัวนั้น เพื่อให้เข้าใจหลักการทำงานและเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการดูแลระบบ ซึ่งโปรโตคอลนั้นก็คือ SNMP SNMP คืออะไร SNMP เป็นคำย่อมาจาก Simple Network Management Protocol เป็นโปรโตคอลที่ใช้รวบรวมจัดเรียงข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์เครือข่าย เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลไปจากเดิมโดยผ่าน IP Address ขอซึ่ง อาทิเช่น Router, Modems, Switch, Server, Works...

ความสำคัญของ Router ในระบบเครือข่าย

รูปภาพ
   การเชื่อมต่อเครือข่าย ระหว่างคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องขึ้นไปจะต้องมีตัวกลางในการเชื่อมต่อเพราะเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีการส่ง Packet ข้อมูลที่แตกต่างกันออกไปซึ่ง Packet เหล่านี้จะมีลักษณะที่จำเพาะ ด้วยเหตุนี้เองจึงต้องมีตัวกลางใน การเชื่อมต่อเครือข่าย ซึ่งอุปกรณ์นี้เราจะเรียกว่า เราเตอร์ (Router) เราเตอร์ (Router) เปรียบเสมือนกับถนนที่เป็นเส้นทางในการเดินทางของรถยนต์ เพราะ เราเตอร์ ทำหน้าที่เหมือนกับถนนเมื่อข้อมูลวิ่งเข้ามาใน เราเตอร์ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกวิเคราะห์และถูกส่งไปยังปลายทาง โดย เราเตอร์ นั้นจะมีซอฟแวร์ในการควบคุมการทำงานอยู่ซึ่งเราเรียกซอฟแวร์นี้ว่า Internetwork Operating System (IOS) โดยเราสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับ เราเตอร์ ได้มากกว่า 1 เครื่องในเวลาเดียวกันซึ่งการทำงานแบบนี้จะเหมือนกับอุปกรณ์สวิตช์ (Switch) ที่มีความสามารถแจก IP ได้ซึ่ง เราเตอร์ ก็สามารถแจก IP ได้เหมือนกัน หลักการทำงานของเราเตอร์ ( Router) จากที่ได้อธิบายไว้แล้วในตอนต้นว่าเราเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ได้หลายเครื่องในเวลาเดี...

Protocol คืออะไร

รูปภาพ
  เมื่อเราอ่านบทความหรือติดตามข่าวเกี่ยวกับเทคโนโลยี เราอาจจะเคยผ่านตาหรือคุ้นหูกับความว่า “ โปรโตคอล (Protocol) ” กันมาบ้าง แต่ว่าแม้เราจะเคยได้ยินหรือคุ้นกับคำนี้มากแค่ไหน บางท่านอาจจะยังไม่เข้าใจความหมายของคำว่า โปรโตคอล เลยด้วยซ้ำ ดังนั้นในบทความนี้เราจะผ่านทุกท่านไปรู้จักกับคำว่า โปรโตคอล (Protocol) กัน ความหมายของคำว่า  Protocol Protocol คือข้อกำหนดหรือข้อตกลงในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ หรือภาษาสื่อสารที่ใช้เป็น ภาษากลางในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกัน การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมโยงกันไว้ในระบบจะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้น จำเป็นจะต้องมีการสื่อสารที่เรียกว่า โปรโตคอล (Protocol) เช่นเดียวกับ คนเราที่ต้องมีภาษาพูดเพื่อให้สื่อสารเข้าใจกันได้ หรือก็คือ Protocol เป็นภาษาของคอมพิวเตอร์ที่ไว้ใช้สื่อสารกันนั้นเอง ความสําคัญของโปรโตคอล ในการติดต่อสื่อสารข้อมูลผ่านทางเครือข่ายนั้น จําเป็นต้องมีโปรโตคอลที่เป็นข้อกําหนดตกลงในการสื่อสารขึ้น เพื่อช่วยให้ระบบสองระบบที่แตกต่างกันสามารถสื่อสารกันอย่างเข้าใจได้โปรโตคอลเป็นข้อที่กําหนดเกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างเครื่อ...

Machine Learning กับ Deep Learning

รูปภาพ
ปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence (AI)  เป็นนวัตกรรมที่สร้างการเปลี่ยนแปลงและนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีแห่งอนาคต แต่ขั้นตอนกระบวนการคิดวิเคราะห์ของ AI นั้น ประกอบตัวด้วยองค์ประกอบย่อยอย่าง  Machine Learning กับ Deep Learning  ซึ่งองค์ประกอบทั้ง 2 อย่าง ทำหน้าที่เปรียบเสมือนสมองของ AI เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการเรียนรู้คิดวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล Machine Learning คืออะไร Machine Learning  คือ ส่วนการเรียนรู้ของเครื่อง ถูกใช้งานเสมือนเป็นสมองของ  AI (Artificial Intelligence)  เราอาจพูดได้ว่า AI ใช้ Machine Learning ในการสร้างความฉลาด มักจะใช้เรียกโมเดลที่เกิดจากการเรียนรู้ของปัญญาประดิษฐ์ ไม่ได้เกิดจากการเขียนโดยใช้มนุษย์ มนุษย์มีหน้าที่เขียนโปรแกรมให้ AI (เครื่อง) เรียนรู้จากข้อมูลเท่านั้น ที่เหลือเครื่องจัดการเอง Machine Learning  เรียนรู้จากสิ่งที่เราส่งเข้าไปกระตุ้น แล้วจดจำเอาไว้เป็นมันสมอง ส่งผลลัพธ์ออกมาเป็นตัวเลข หรือ code ที่ส่งต่อไปแสดงผล หรือให้เจ้าตัว AI นำไปแสดงการกระทำ  Machine Learning  เองสามารถเอาไปใช้งานได้หลายรูปแบบ...

ความแตกต่างระหว่าง IoT กับ AI

รูปภาพ
  ไม่ว่าจะเป็น  IoT  หรือ  AI  ต่างก็เป็นเทคโนโลยีที่คอยขับเคลื่อนและเปลี่ยนแปลงโลกไปสู่อนาคต แต่หลายๆ คนอาจจะยังมีข้อสงสัยกันอยู่ว่า  IoT กับ AI  เป็นเทคโนโลยีแบบเดียวกันหรือไม่ ซึ่งในบทความนี้เราจะกล่าวถึงความแตกต่างของสองเทคโนโลยีนี้กันว่า IoT กับ AI นั้นมีข้อแตกต่างกันอย่างไร ทำความรู้จักกับ IoT กับ AI กันก่อน IoT เป็นคำย่อมาจาก Internet of Things  แปลงตรงตัวก็คือ “ อินเทอร์เน็ตของทุกสิ่ง ” หมายถึง การที่อุปกรณ์ต่างๆ สามารถทำงานเชื่อมต่อกันอย่างอัจฉริยะผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สามารถทำงานร่วมกับสมาร์ทโฟนและเซ็นเซอร์ที่คอยตรวจจับสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัว ตัวอย่างเช่น กล้องวงจรปิดที่สามารถดูออนไลน์ผ่านมือถือได้ เป็นต้น  IoT  ไม่ได้หมายถึงการที่อุปกรณ์เข้าถึงโครงข่ายอินเทอร์เน็ตได้เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงอุปกรณ์ใดๆ ก็ต่างที่สามารถสั่งการและควบคุมแบบไร้สายได้ด้วย เราสามารถดูกล้องวงจรปิดผ่านมือถือได้โดยผ่านแอปพลิเคชั่นต่างๆ จากผู้ผลิตแต่ละแบรนด์ AI หรือ Artificial Intelligence  หรือชื่อภาษาไทยที่เรามักเรียกกันติดปากว่า “ ปัญญาประดิษฐ์ ...